วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

7. การออกแบบโครงสร้างนวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม เป็นการกำหนดหรือวางแผนว่าจะใช้นวัตกรรมเพื่ออะไร เช่น
เพื่อให้ครูใช้เป็นคู่มือ เอกสารประกอบการสอน สื่อ
เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นหนังสืออ่าน แบบฝึกทักษะ บทเรียนสำเร็จรูป
เพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ
ลักษณะสำคัญของนวัตกรรม ประกอบด้วย
หลักการ / ทฤษฎี
วิธีการ / ขั้นตอน / กระบวนการ
ลักษณะ / รูปแบบ
ผลที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังใช้นวัตกรรม
ข้อเสนอแนะในการนำนวัตกรรมไปใช้
วิธีการแสวงหานวัตกรรม
การแสวงหานวัตกรรมประเภทสื่อ
สำรวจจากบัญชีรายชื่อสื่อของโรงเรียน
สอบถามจากหน่วยศึกษานิเทศก์
ประสานงานกับโรงเรียนใกล้เคียง โรงเรียนในกลุ่มเดียวกันโรงเรียนแกนนำต่าง ๆ
ครูสร้างขึ้นเอง โดยคำนึงถึงความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ทีมงาน
การแสวงหานวัตกรรมประเภทวิธีการ
ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และทำความเข้าใจในการใช้วิธีการดังกล่าว
ประสานงานขอความร่วมมือจากครูผู้สอนที่ชำนาญในเรื่องนั้น ๆ หรือนักวิชาการที่เชี่ยวชาญ
หลักในการเลือกนวัตกรรม
การเลือกนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม จำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถเลือกนวัตกรรมมาใช้ได้สอดคล้องกับความสนใจและธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละวัย
ศึกษาทฤษฎีและหลักการสอน เพื่อนำมากำหนดเทคนิควิธี กิจกรรม หรือสื่อการเรียนได้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา
ศึกษาชนิดและประเภทของนวัตกรรม เพื่อให้สามารถเลือกมาใช้ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
บทเรียนน่าสนใจ
ลดเวลาในการสอน
ประหยัดค่าใช้จ่าย
6. ลักษณะของนวัตกรรม
บทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูป หรือบทเรียนโปรแกรม (Programmed Lesson) เป็นบทเรียนที่มีการเตรียมการโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
ความสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป
ใช้แก้ปัญหาการสอนซ่อมเสริม
สนองความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล
สร้างคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบของนักเรียนได้
การนำไปใช้
ใช้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กเรียนช้า
นักเรียนได้เรียนตามศักยภาพของตนเอง
เป็นสื่อสำหรับนักเรียนเรียนด้วยตนเอง อาจให้ศึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มเสริมการเรียนในชั้น สนองเด็กเรียนเร็ว ใช้ซ่อมเสริมเด็กเรียนช้า หรือใช้เสริมเฉพาะจุดประสงค์ที่เด็กขาดความรู้ ความเข้าใจ ใช้หลักการแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom ที่เน้นการเรียนรู้เพื่อรู้แจ้ง (Masterry Learning) แต่ละบทเรียนสนองจุดประสงค์เฉพาะเรื่อง ให้เด็กได้ฝึกและทราบคำตอบเป็นขั้นเป็นตอน ตามทฤษฎีการเสริมแรงของ Skiner
ลักษณะทางเทคนิคของแต่ละโมดูลอาจมี
ทบทวน / นิยามศัพท์
จุดประสงค์
ศึกษาสถานการณ์ทีละสถานการณ์
แต่ละสถานการณ์ให้เด็กได้ศึกษา ได้ตอบคำถามให้เกิดความคิดรวบยอด เข้าใจกฎเกณฑ์ หลักการ นำกฎเกณฑ์หลักการไปใช้แก้ปัญหา (ตามแนว Gagne)
บทสรุป
แบบคำถามท้ายบท
การแสดงละคร
การแสดงละคร เป็นการแสดงที่กำหนดขึ้นในเรื่องราว มีการกำหนดบทบาทความรู้สึกคำพูด ตลอดจนการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ แล้วให้ผู้แสดง แสดงไปตามบทบาท
ขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียม เป็นขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายในการแสดงที่แน่นอนแล้วแจ้งให้นักเรียนรู้จุดมุ่งหมายที่ต้องการ หลังจากนั้นทั้งครูและนักเรียนจึงช่วยกันคัดเลือกบทตอนที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย กำหนดตัวละคร บทบาท บทสนทนา ฉาก และอุปกรณ์การแสดงไว้ให้พร้อม
ขั้นแสดง เป็นขั้นแสดงไปตามเรื่องและบทที่กำหนดให้ โดยมีผู้ชมเป็นผู้สังเกตการณ์การแสดงเพื่อนำมาอภิปราย
ขั้นอภิปรายแสดงความคิดเห็นและเขียนรายงาน เป็นขั้นสรุปผล สาระสำคัญที่ได้รับจากการแสดงโดยเขียนรายงานเสนอ
5. การออกแบบนวัตกรรม
การพิจารณาความสำคัญของนวัตกรรมให้ดูที่เหตุผลความจำเป็นของปัญหา ถ้ามีข้อมูลแสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องในจุดประสงค์การเรียนใด ๆ ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการเรียนการสอนทั้งปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตก็สมควรสร้างนวัตกรรมนั้น ๆ ได้
ในการออกแบบนวัตกรรมผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้
ชื่อนวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
ส่วนประกอบของนวัตกรรม
การนำนวัตกรรมไปใช้
การวางแผนการพัฒนานวัตกรรม
เป็นแนวคิดที่ผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องถามตัวเองว่า จะสร้างนวัตกรรมอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก่ปัญหาจะไปค้นหาแหล่งอ้างอิงที่ไหน จะต้องสร้างกี่ชิ้น กี่ประเภท ใช้เทคนิคการสร้างอะไรบ้าง จะมีแนวการใช้นวัตกรรมอย่างไร ผู้ออกแบบนวัตกรรมควรวางแผนไว้ 3 ขั้นตอน
1. ขั้นพัฒนา
ผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องศึกษาแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของการพัฒนาคือ
1.1 ศึกษารายการนวัตกรรม และลักษณะเฉพาะของแต่ละนวัตกรรม ตัวอย่างนวัตกรรม
1.2 ศึกษาหลักสูตรหลักการสอนรายวิชาต่าง ๆ เอกสารแนะนำหลักการสอนต่าง ๆ ของกรมวิชาการ ตัวอย่างแนวการสอน แนวการจัดกิจกรรม
1.3 ศึกษาทบทวนทฤษฎีการสอน หลักจิตวิทยาการศึกษา
1.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
2. ขั้นทดลองใช้
หลังจากพัฒนานวัตกรรม 1 ชิ้น ผู้ออกแบบบนวัตกรรมจะต้องเขียนแผนการสอนนวัตกรรมนั้นไปทดลองสอน ระบุ ชั้น วิชา ทดสอบเก็บคะแนนและหลังการใช้นวัตกรรม
ขั้นประเมินและรายงาน
หลังจากทดลอง ผู้ออกแบบนวัตกรรมได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และเก็บคะแนนวิเคราะห์ผลการทดสอบ แสดงสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง หลังการทดลองและ ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการสอบเป็นที่น่าพอใจ ผู้ออกแบบนวัตกรรมเขียนรายงานผลการทดลองเผยแพร่ให้ครู – อาจารย์อื่น ๆ ทราบ อาจประกอบด้วย
แผนการสอนที่ใช้นวัตกรรม
นวัตกรรมที่สร้าง หรือพัฒนาขึ้น
คู่มือการใช้นวัตกรรม
แบบทดสอบก่อน – หลัง การใช้นวัตกรรม
รายงานผลการทดลอง
4. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาจำแนกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่
ประเภทสื่อสำหรับครู
แผนการสอน
คู่มือครู
เอกสารประกอบการสอน
ชุดการสอน
สื่อผสมชนิดต่างๆ
หนังสืออ้างอิง
เครื่องมือวัดผลประเมินผล
อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
ประเภทสื่อสำหรับนักเรียน
บทเรียนสำเร็จรูป
เอกสารประกอบการเรียน
ชุดฝึกปฏิบัติ
ใบงาน
แบบฝึก
หนังสือเสริมประสบการณ์4. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาจำแนกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่
ประเภทสื่อสำหรับครู
แผนการสอน
คู่มือครู
เอกสารประกอบการสอน
ชุดการสอน
สื่อผสมชนิดต่างๆ
หนังสืออ้างอิง
เครื่องมือวัดผลประเมินผล
อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
ประเภทสื่อสำหรับนักเรียน
บทเรียนสำเร็จรูป
เอกสารประกอบการเรียน
ชุดฝึกปฏิบัติ
ใบงาน
แบบฝึก
หนังสือเสริมประสบการณ์
ชุดเพลง
ชุดเกม, การ์ตูนต่างๆ
4.2 จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การศึกษาเป็นรายบุคคล
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียน โมดุล เพลง เกม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ชุดเพลง
ชุดเกม, การ์ตูนต่างๆ
4.2 จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การศึกษาเป็นรายบุคคล
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียน โมดุล เพลง เกม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน