วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

7. การออกแบบโครงสร้างนวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม เป็นการกำหนดหรือวางแผนว่าจะใช้นวัตกรรมเพื่ออะไร เช่น
เพื่อให้ครูใช้เป็นคู่มือ เอกสารประกอบการสอน สื่อ
เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นหนังสืออ่าน แบบฝึกทักษะ บทเรียนสำเร็จรูป
เพื่อใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ
ลักษณะสำคัญของนวัตกรรม ประกอบด้วย
หลักการ / ทฤษฎี
วิธีการ / ขั้นตอน / กระบวนการ
ลักษณะ / รูปแบบ
ผลที่เกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้นหลังใช้นวัตกรรม
ข้อเสนอแนะในการนำนวัตกรรมไปใช้
วิธีการแสวงหานวัตกรรม
การแสวงหานวัตกรรมประเภทสื่อ
สำรวจจากบัญชีรายชื่อสื่อของโรงเรียน
สอบถามจากหน่วยศึกษานิเทศก์
ประสานงานกับโรงเรียนใกล้เคียง โรงเรียนในกลุ่มเดียวกันโรงเรียนแกนนำต่าง ๆ
ครูสร้างขึ้นเอง โดยคำนึงถึงความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ ทีมงาน
การแสวงหานวัตกรรมประเภทวิธีการ
ศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ และทำความเข้าใจในการใช้วิธีการดังกล่าว
ประสานงานขอความร่วมมือจากครูผู้สอนที่ชำนาญในเรื่องนั้น ๆ หรือนักวิชาการที่เชี่ยวชาญ
หลักในการเลือกนวัตกรรม
การเลือกนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม จำเป็นจะต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องต่อไปนี้
หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถเลือกนวัตกรรมมาใช้ได้สอดคล้องกับความสนใจและธรรมชาติการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละวัย
ศึกษาทฤษฎีและหลักการสอน เพื่อนำมากำหนดเทคนิควิธี กิจกรรม หรือสื่อการเรียนได้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา
ศึกษาชนิดและประเภทของนวัตกรรม เพื่อให้สามารถเลือกมาใช้ได้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่ต้องการแก้ไข
ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน
บทเรียนน่าสนใจ
ลดเวลาในการสอน
ประหยัดค่าใช้จ่าย
6. ลักษณะของนวัตกรรม
บทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูป หรือบทเรียนโปรแกรม (Programmed Lesson) เป็นบทเรียนที่มีการเตรียมการโดยกำหนดเนื้อหา วัตถุประสงค์ วิธีการ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าและประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้
ความสำคัญของบทเรียนสำเร็จรูป
ใช้แก้ปัญหาการสอนซ่อมเสริม
สนองความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล
สร้างคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบของนักเรียนได้
การนำไปใช้
ใช้กับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กเรียนช้า
นักเรียนได้เรียนตามศักยภาพของตนเอง
เป็นสื่อสำหรับนักเรียนเรียนด้วยตนเอง อาจให้ศึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มเสริมการเรียนในชั้น สนองเด็กเรียนเร็ว ใช้ซ่อมเสริมเด็กเรียนช้า หรือใช้เสริมเฉพาะจุดประสงค์ที่เด็กขาดความรู้ ความเข้าใจ ใช้หลักการแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom ที่เน้นการเรียนรู้เพื่อรู้แจ้ง (Masterry Learning) แต่ละบทเรียนสนองจุดประสงค์เฉพาะเรื่อง ให้เด็กได้ฝึกและทราบคำตอบเป็นขั้นเป็นตอน ตามทฤษฎีการเสริมแรงของ Skiner
ลักษณะทางเทคนิคของแต่ละโมดูลอาจมี
ทบทวน / นิยามศัพท์
จุดประสงค์
ศึกษาสถานการณ์ทีละสถานการณ์
แต่ละสถานการณ์ให้เด็กได้ศึกษา ได้ตอบคำถามให้เกิดความคิดรวบยอด เข้าใจกฎเกณฑ์ หลักการ นำกฎเกณฑ์หลักการไปใช้แก้ปัญหา (ตามแนว Gagne)
บทสรุป
แบบคำถามท้ายบท
การแสดงละคร
การแสดงละคร เป็นการแสดงที่กำหนดขึ้นในเรื่องราว มีการกำหนดบทบาทความรู้สึกคำพูด ตลอดจนการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ไว้อย่างสมบูรณ์ แล้วให้ผู้แสดง แสดงไปตามบทบาท
ขั้นตอนการสอน
ขั้นเตรียม เป็นขั้นกำหนดจุดมุ่งหมายในการแสดงที่แน่นอนแล้วแจ้งให้นักเรียนรู้จุดมุ่งหมายที่ต้องการ หลังจากนั้นทั้งครูและนักเรียนจึงช่วยกันคัดเลือกบทตอนที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย กำหนดตัวละคร บทบาท บทสนทนา ฉาก และอุปกรณ์การแสดงไว้ให้พร้อม
ขั้นแสดง เป็นขั้นแสดงไปตามเรื่องและบทที่กำหนดให้ โดยมีผู้ชมเป็นผู้สังเกตการณ์การแสดงเพื่อนำมาอภิปราย
ขั้นอภิปรายแสดงความคิดเห็นและเขียนรายงาน เป็นขั้นสรุปผล สาระสำคัญที่ได้รับจากการแสดงโดยเขียนรายงานเสนอ
5. การออกแบบนวัตกรรม
การพิจารณาความสำคัญของนวัตกรรมให้ดูที่เหตุผลความจำเป็นของปัญหา ถ้ามีข้อมูลแสดงว่านักเรียนส่วนใหญ่มีความบกพร่องในจุดประสงค์การเรียนใด ๆ ที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อการเรียนการสอนทั้งปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตก็สมควรสร้างนวัตกรรมนั้น ๆ ได้
ในการออกแบบนวัตกรรมผู้ออกแบบควรกล่าวถึงส่วนต่าง ๆ ต่อไปนี้
ชื่อนวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของการใช้นวัตกรรม
ทฤษฎีหลักการที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรม
ส่วนประกอบของนวัตกรรม
การนำนวัตกรรมไปใช้
การวางแผนการพัฒนานวัตกรรม
เป็นแนวคิดที่ผู้ออกแบบนวัตกรรมจะต้องถามตัวเองว่า จะสร้างนวัตกรรมอะไรจึงจะมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการแก่ปัญหาจะไปค้นหาแหล่งอ้างอิงที่ไหน จะต้องสร้างกี่ชิ้น กี่ประเภท ใช้เทคนิคการสร้างอะไรบ้าง จะมีแนวการใช้นวัตกรรมอย่างไร ผู้ออกแบบนวัตกรรมควรวางแผนไว้ 3 ขั้นตอน
1. ขั้นพัฒนา
ผู้ออกแบบนวัตกรรมต้องศึกษาแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ของการพัฒนาคือ
1.1 ศึกษารายการนวัตกรรม และลักษณะเฉพาะของแต่ละนวัตกรรม ตัวอย่างนวัตกรรม
1.2 ศึกษาหลักสูตรหลักการสอนรายวิชาต่าง ๆ เอกสารแนะนำหลักการสอนต่าง ๆ ของกรมวิชาการ ตัวอย่างแนวการสอน แนวการจัดกิจกรรม
1.3 ศึกษาทบทวนทฤษฎีการสอน หลักจิตวิทยาการศึกษา
1.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยตนเอง
2. ขั้นทดลองใช้
หลังจากพัฒนานวัตกรรม 1 ชิ้น ผู้ออกแบบบนวัตกรรมจะต้องเขียนแผนการสอนนวัตกรรมนั้นไปทดลองสอน ระบุ ชั้น วิชา ทดสอบเก็บคะแนนและหลังการใช้นวัตกรรม
ขั้นประเมินและรายงาน
หลังจากทดลอง ผู้ออกแบบนวัตกรรมได้นำนวัตกรรมไปทดลองใช้และเก็บคะแนนวิเคราะห์ผลการทดสอบ แสดงสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนการทดลอง หลังการทดลองและ ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มีผลการสอบเป็นที่น่าพอใจ ผู้ออกแบบนวัตกรรมเขียนรายงานผลการทดลองเผยแพร่ให้ครู – อาจารย์อื่น ๆ ทราบ อาจประกอบด้วย
แผนการสอนที่ใช้นวัตกรรม
นวัตกรรมที่สร้าง หรือพัฒนาขึ้น
คู่มือการใช้นวัตกรรม
แบบทดสอบก่อน – หลัง การใช้นวัตกรรม
รายงานผลการทดลอง
4. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาจำแนกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่
ประเภทสื่อสำหรับครู
แผนการสอน
คู่มือครู
เอกสารประกอบการสอน
ชุดการสอน
สื่อผสมชนิดต่างๆ
หนังสืออ้างอิง
เครื่องมือวัดผลประเมินผล
อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
ประเภทสื่อสำหรับนักเรียน
บทเรียนสำเร็จรูป
เอกสารประกอบการเรียน
ชุดฝึกปฏิบัติ
ใบงาน
แบบฝึก
หนังสือเสริมประสบการณ์4. ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาจำแนกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
4.1 จำแนกตามผู้ใช้ประโยชน์โดยตรง ได้แก่
ประเภทสื่อสำหรับครู
แผนการสอน
คู่มือครู
เอกสารประกอบการสอน
ชุดการสอน
สื่อผสมชนิดต่างๆ
หนังสืออ้างอิง
เครื่องมือวัดผลประเมินผล
อุปกรณ์โสตทัศนวัสดุ
ประเภทสื่อสำหรับนักเรียน
บทเรียนสำเร็จรูป
เอกสารประกอบการเรียน
ชุดฝึกปฏิบัติ
ใบงาน
แบบฝึก
หนังสือเสริมประสบการณ์
ชุดเพลง
ชุดเกม, การ์ตูนต่างๆ
4.2 จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การศึกษาเป็นรายบุคคล
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียน โมดุล เพลง เกม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ชุดเพลง
ชุดเกม, การ์ตูนต่างๆ
4.2 จำแนกตามลักษณะของนวัตกรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. ประเภทเทคนิควิธีการหรือกิจกรรม เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การเรียนเพื่อความรอบรู้ การฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม การศึกษาเป็นรายบุคคล
2. ประเภทสื่อการเรียนการสอน เช่น ชุดการสอน ชุดสื่อประสม บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียน โมดุล เพลง เกม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ขอบข่ายของนวัตกรรม

3. ขอบข่ายของนวัตกรรม
สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา มีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆดังต่อนี้
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. มีการพัฒนาสื่อใหม่ๆ
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนใน ระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่
ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้(สมพร ชมอุตม์ , 2532)
1.ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทผลิตสื่อดังๆ แข่งขั้นกันหลายบริษัทเช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ แอปเปิล แมคอินทอช ไอบีเอ็ม ฮิวเล็ตแพคการ์ด คอมแพค เป็นต้น
2. การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนอกมาเป็นเกม ซึ่งผสมกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจ แถมยังได้ผลดีด้วย
3. มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็ก ได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
4. มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
5. คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์สิ่งพิมพ์ตลอดจน
การเรียนคอมพิวเตอร์ มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว
(re-Engineering)
6. ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลายๆ รูปแบบและยังมีนักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering) เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ่ง วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัดหรือมีวิชาการใหม่ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
7. การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน
2. ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
ปัจจุบันโลก มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารการจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เหตุที่ต้องมีการสร้างนวัตกรรมการศึกษาเนื่องมาจาก
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่อยตอบสนองการเรียนรู้ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “ Wed-based learning” ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where,Any time for Everyone)

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ 1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนโปรแกรม (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) - WBI
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อม ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามขั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ - eLearning
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนโปรแกรม - ชุดการเรียน - eEducation
สรุป
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไปในวงการศึกษา